เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำการทดลอง การวิจัย การทดสอบวิเคราะห์
เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการมีจำนวนมาก หลายประเภท หลายขนาด และแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออก
ไปผู้ใช้จึงจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานเครื่องแก้ว วิธีการใช้อย่างถูกต้องเพื่อลดความคลาดเคลื่อน การทำความสะอาด
และการดูแลรักษา
การแบ่งประเภทของเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ เครื่องแก้วที่
ใช้งานทั่วไป (general glassware) และเครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว (volumetric glassware)
ประเภทเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ
1. เครื่องแก้วที่ใช้งานทั่วไป
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบรรจุสารเคมี ถ่ายเทสารละลาย อุปกรณ์ประกอบการทดลอง เช่น การต้ม ละลาย ระเหย ตกตะกอน เป็นต้น
และบางชนิดอาจใช้ในการวัดปริมาตรของเหลวที่บรรจุโดยปริมาณ ซึ่งไม่อาจเป็นค่าที่มีความแม่นได้ อย่างไรก็ตาม แม้เราจะเรียกว่า
เครื่องแก้ว แต่อุปกรณ์บางชนิด บางรุ่นอาจทำด้วยวัสดุอย่างอื่นที่เป็นพลาสติก HDPE หรือ PE ได้
- บีกเกอร์ (beaker)
- ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask)
- ขวดก้นกลม (boiling flasks, round bottom)
- ขวดก้นแบน (boiling flask, flat bottom)
- กรวยกรอง (funnel)
- แท่งแก้ว (stirring rod)
- กระจกนาฬิกา (glass watch)
- ขวดชั่งสาร (weighing bottle)
- หลอดหยด (dropper)
2. เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว
เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว (volumetric glassware) ใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการความแม่นสูง คุณลักษณะของเครื่องแก้ว
วัดปริมาตรจะประกอบด้วย
- มีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดในการวัดที่ยอมรับได้ (Tolerance limit)
เครื่องแก้ววัดปริมาตร เช่น
- กระบอกตวง (measuring cylinder)
- ขวดกำหนดปริมาตร (volumetric flask)
- ขวดวัดความถ่วงจำเพาะ (specific gravity bottle)
- บิวเรต (burette)
- ปิเปต (pipette)
- ปิเปตวัดปริมาตร (volumetric pipette หรือ transfer pipette)
- ไมโครปิเปต (micropipette)
- ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร (measuring pipette หรือ graduated pipette) แบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ
- ปิเปต ชนิด ปล่อยถึงขีดสุดท้าย (Mohr type)
- ปิเปต ชนิด ปล่อยหมด (Serological type)
กระบอกตวง (measuring cylinder)
เป็นอุปกรณ์รูปทรงกระบอกมีฐานสำหรับวางบนพื้นได้ปากมีจงอยเพื่อให้ถ่ายของเหลวได้สะดวกใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่ง
ไปยังอีกภาชนะหนึ่งในกรณีที่ไม่ต้องการความแม่นสูง
ขวดกำหนดปริมาตร (volumetric flask)
ลักษณะเป็นขวดที่มีฐานสามารถวางบนพื้น คอยาว มีขีดกำหนดปริมาตรบนคอขวด ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้น
ที่แน่นอน (ชนิด TC) หรือถ่ายของเหลวที่ต้องการปริมาตรที่แน่นอนจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง (ชนิด TD)
บิวเรต (burette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวที่มีความแม่นสูง มีก๊อกหยุด (stopcock) สำหรับปิด-เปิด เพื่อควบคุมปริมาตรของเหลวให้ไหลออก
ทางปลายท่อตามต้องการใช้ในการไทเทรต (titration)
ปิเปตวัดปริมาตร (volumetric pipette หรือ transfer pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อยาว ส่วนกลางเป็นกระเปาะ ด้านล่างและบนกระเปาะมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร
ขีดเดียวอยู่ด้านบนเหนือกระเปาะสามารถ บรรจุของเหลวได้ปริมาตรมาก ส่วนที่อ่านปริมาตรมีขนาดเล็ก ทำให้ความคลาดเคลื่อนจาก
การอ่านค่าปริมาตรต่ำใช้ในการถ่ายของเหสวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งในกรณีที่ต้องการความแม่นสูง
ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร (measuring pipette หรือ graduated pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของ
เหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง
ขวดวัดความถ่วงจำเพาะ (specific gravity bottle)
ใช้สำหรับหาความถ่วงจำเพาะของเหลว หรือ ของแข็งที่อยู่ในรูปแบบผงหรือสามารถบดเป็นผงได้ ใช้ร่วมกับเครื่องชั่งน้ำหนักเพื่อคำนวณ
หาความถ่วงจำเพาะได้
Credit: https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=3852