GHS คืออะไร ?
GHS เป็นระบบสากลว่าด้วยการแบ่งกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการจัดทำเอกสารความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) ให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อทำให้สามารถสื่อสาร ข้อมูลและอันตรายของสารเคมีให้ทุกคนเข้าใจได้โดยง่าย โดยเฉพาะผู้บริโภค ผู้ปฏิบัติงานในการขนส่ง และผู้ปฏิบัติการตอบโต้สภาวะฉุกเฉิน
วัตถุประสงค์ของ GHS
1.ทำให้ระบบข้อมูลที่บอกความเป็นอันตรายของสารเคมีทั่วโลกเป็นระบบเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน
2.เพิ่มระดับการปกป้องสุขภาพมนุษย์์และสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีระบบที่เป็นสากลควบคุม
3.ลดภาระในการทดสอบและประเมินสารเคมีและ ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ
4.เป็นแนวทางให้กับประเทศที่ยังไม่มีระบบการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี
การแบ่งกลุ่มสารเคมีในระบบ GHS แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. อันตรายทางกายภาพแบ่งออกเป็น 16 ประเภทคือ
1.1 วัตถุระเบิด
2.1 ก๊าซไวไฟ
3.1 สารละอองลอยไวไฟ
4.1 ก๊าซออกซิไดซ์
5.1 ก๊าซภายใต้ความดัน
6.1 ของเหลวไวไฟ
7.1 ของแข็งไวไฟ
8.1 สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง
9.1 ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในบรรยากาศ
10.1 ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ
11.1 สารที่เกิดความร้อนได้เอง
12.1 สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ
13.1 ของเหลวออกซิไดซ์
14.1 ของแข็งออกซิไดซ์
15.1 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
16.1 สารกัดกร่อนโลหะ
2. อันตรายทางสุขภาพแบ่งออกเป็น 10 ประเภทคือ
2.1 ความเป็นพิษเฉียบพลัน
2.2 การกัดกร่อนการระคายเคืองต่อผิวหนัง
2.3 การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง / การละคายเคืองต่อดวงตา
2.4 ความไวต่อการแพ้กับระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง
2.5 การกลายพันธ์ของเซลล์สืบพันธ์
2.6 ความสามารถในการก่อมะเร็ง
2.7 ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์
2.8 ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง จากการได้รับสัมผัสครั้งเดียว
2.9 ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง จากการได้รับสัมผัสซ้ำ
2.10 ความเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือทำให้ปอดอักเสบ
3. อันตรายทางสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ
3.2 ความเป็นอันตรายต่อโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ขอบคุณที่มา : http://www.dmsc.moph.go.th/phuket/userfiles/files/KM-GHS.pdf