ภัยเงียบ! สารพิษภายในบ้านที่ถูกมองข้าม
ทราบหรือไม่ว่าโรคต่าง ๆ หรืออาการเจ็บป่วยมีไข้นานาชนิด จะเกิดจากเชื้อโรค ไวรัสจากนอกบ้านเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งทุกวันนี้ในปัจจุบันก็มีเหตุการณ์โรคโควิดที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดหมดไปได้ จึงทำได้เพียงฉัดวัคซีนป้องกัน และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปข้างนอกหรือพบปะผู้คนจำนวนมากมาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดที่เราอาจไม่รู้ตัว เพราะเราอาจเสี่ยงไปสัมผัสโดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้ ซึ่งในช่วงแรกของการแพร่ระบาดโรคโควิด ทำให้ผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะไม่ออกไปข้างนอกหากไม่มีเหตุจำเป็น และอยู่แต่ที่บ้านเพื่อความปลอดภัยต่อตัวเองและครอบครัว
แต่คุณอาจไม่รู้ว่าบ้านของเรานั้นก็อาจมีภัยร้ายที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ด้วยนะ อ่านมาจนถึงตอนนี้ ทุกคนคงจะแปลกใจไม่ใช่น้อย ว่า…เอ๊ะ! อยู่ในบ้านเราก็มีโอกาสป่วยได้ด้วยหรอ? วันนี้เราจะมาสำรวจรอบบ้านกันค่ะ ว่าส่วนไหนในบ้านของเราบ้างนะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ แล้วเราควรแก้ปัญหาอย่างไรดี เพื่อบ้านแสนสุขและสุขภาพแสนสำคัญ
บ้านแสนสุขของเราที่เต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุแต่งบ้านต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มาจากธรรมชาติ เป็นวัสดุที่สังเคราะห์จากสารเคมีหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เพราะเราอาจสัมผัสไปด้วยความปกติ ซึ่งนั่นอาจคือตัวแปรที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากในบ้านของเราเอง เพราะถูกสารเคมีจากวัสดุที่สังเคราะห์ภายในบ้านเป็นระยะเวลานาน ๆ ถึงเวลาสำรวจตรวจสอบภายในบ้านของเราว่ามีสารเคมีตรงส่วนไหนของภายในบ้านเราบ้างนะ มาเช็คกันค่ะ
เริ่มจากการแบ่งกลุ่มประเภทสารเคมีด้วยพื้นที่การใช้งานภายในบ้านกันก่อน โดยเราจะแบ่งออกได้เป็น 4 โซนสำคัญ ได้แก่
สีสันสวยงามของผนังและพื้นบ้านคือการตกแต่งที่เป็นพื้นฐานและขาดไม่ได้เลย แน่นอนว่า สีทาบ้านที่สวย ๆ นั้น ใช้สารเคมีเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้สีมีความคงทนสวยงาม และนอกเหนือจากสีทาบ้านแล้ว ยังมีประเภทอื่น ๆ ที่ต้องใช้ร่วมด้วย อาทิ สารเคลือบวัสดุเพื่อความมันเงา ทินเนอร์ และแลกเกอร์ต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อเคลือบวัตถุให้มีความมันวาวสวยงาม ทั้งผนังไม้ ผนังปูน แม้กระทั่งเหล็ก
ลองสังเกตเมื่อเวลาทาสีหรือเพิ่งทาเสร็จใหม่ ๆ เรามักจะได้กลิ่นฉุนของสารเคมี ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยการเปิดหน้าต่างระบายอากาศ และใส่หน้ากากเพื่อป้องกันละอองหรือไอของสารพิษไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ค่ะ
แต่ว่าสารพิษเหล่านี้ไม่ได้เป็นอันตรายเฉพาะช่วงแรก ๆ เท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า สีที่เสื่อมสภาพจะเกิดการหลุดร่อนอีกครั้ง ที่ต้องระวังคือไม่ควรสัมผัสด้วยการ จับ แกะ ลอก หรือดึงสีที่เสื่อมสภาพด้วยมือเปล่า เพราะจะยิ่งทำให้ผงสีที่หลุดนั้นฟุ้งกระจายไปในอากาศ รวมถึงอาจติดมือมาแล้วเผลอไปหยิบจับอาหารเข้าสู่ร่างกายได้
โดยสารเคมีที่ว่ามาทั้งหมดนั้นมีอันตรายแอบแฝงซ่อนอยู่นั่นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สารตะกั่ว โครเมียม โทลูอีน ไซลีน ตัวทำลายอินทรีย์ เป็นต้น
ดังนั้น หากพบเจอสีที่ผนังบ้านหรือตามวัสดุต่าง ๆ เริ่มมีการเสื่อมสภาพแล้ว ก็ควรจะเรียกช่างหรือผู้เชี่ยวชาญมาจัดการทาสีใหม่ให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยของคนภายในบ้านดีที่สุดค่ะ หากต้องการทาสีด้วยตัวเองต้องใส่ถุงมือ สวมหน้ากากอนามัย และอ่านฉลากวิธีการใช้ให้รอบคอบก่อนนะคะ
องค์ประกอบหลักในห้องนั่งเล่นและห้องนอนที่เป็นส่วนสำคัญคงหนีไม่พ้นเฟอร์นอเจอร์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน แล้วสารเคมีไปอยู่ส่วนไหนไปไม่ได้นอกจากเฟอร์นิเจอร์ในห้องนี่เอง เพราะต่างก็มีส่วนประกอบของสารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพหลายชิ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด เฟอร์นิเจอร์พลาสติก และพรมที่วางอยู่บนพื้นก็มีสารเคมีหลายชนิด เช่น สารฟอร์มาลดีไฮด์ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย และสารหน่วงการติดไฟ เป็นต้น
ซึ่งสารที่เราทุกคนสามารถพบเจอได้บ่อยที่สุดคือ “สารฟอร์มาลดีไฮด์” เพราะเป็นองค์ประกอบในเฟอร์นิเจอร์ไม้อัดและยังรวมถึงเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ เกือบทุกชิ้นอีกด้วย ถ้าลองสังเกตตอนที่เราซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านมาใหม่ ๆ มักจะมีกลิ่นฉุนขึ้นมา หรือ “กลิ่นของใหม่” นั่นก็คือสารฟอร์มาลดีไฮด์นี่เอง ซึ่งสารนี้จะทำหน้าที่ช่วยป้องกันปลวกและแมลง ไม่ให้มากัดกินเฟอร์นิเจอร์ของเราค่ะ
สารฟอร์มาลดีไฮด์ ที่ยังมีความเข้มข้นสูงและระเหยออกมาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการระคายเคืองทางจมูกและปวดศีรษะได้ วิธีแก้ไขคือการเปิดหน้าต่างระบายอากาศ หรือปลูกต้นไม้ที่ช่วยดูดซับสารพิษเหล่านี้ในอากาศ
ส่วนเป็นพรมก็จะมีสาร VOCs ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ขอแนะนำให้ไปซักและผึ่งแดดสัก 1-2 วัน เพื่อให้สารนี้ระเหยออกไปให้หมดก่อนที่จะนำมาใช้งานค่ะ ในส่วนของพวกเฟอร์นิเจอร์พลาสติกกับจอทีวี ก็จะมีสาร Flame Retardant Agent หรือสารหน่วงการติดไฟผสมอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยปล่อยออกมาปริมาณไม่มากนัก แต่มันจะถูกปล่อยออกมาเมื่อเราใช้งานจนเกิดความร้อนสะสมถึงจุดหนึ่ง หรืออาจมาจากการเสื่อมสภาพและรูปแบบของฝุ่นผงจากอุปกรณ์
ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่มีสารเคมีที่กล่าวมานี้ เมื่อถูกความร้อนหรือเกิดการเผาไหม้ สารเคมีที่อยู่ภายในก็จะลอยออกมาในอากาศ กลายเป็นแก๊สพิษที่ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการสูดดมสารหรือกลิ่นที่ออกมาจากเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นเป็นอันขาด เพราะบางชนิดก็เป็นสารก่อมะเร็ง หรือบางชนิดถ้าได้รับในปริมาณมาก ๆ ก็อาจถึงแก่ความตายได้เชียวละ
สารเคมีในห้องครัวมักแอบแฝงมาในรูปแบบของอุปกรณ์เครื่องครัวและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหม้อ กระทะ สเปรย์ที่ไว้ใช้ฉีดพ่นป้องกันน้ำและคราบสกปรก หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์พลาสติก อาหารกระป๋อง และขวดนมเด็กก็มีเหมือนกัน ซึ่งมีสารพิษที่เป็นอันตรายหลายชนิด เช่น สารเปอร์ฟลูออโรเนท (PFCs) โพลีคาร์บอเนต (BPA หรือ Bisphenol A ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตขวดนม ขวดน้ำดื่มมานาน โดยสารนี้มีคุณสมบัติช่วยให้ขวดนม หรือพลาสติกมีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่าย)
สาร PFCs ที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์บางชนิด มีผลต่อไทรอยด์และภาวะการเจริญพันธุ์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเทฟลอนหรือสาร PFCs จะสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิ 327 องศา (หรือสังเกตจากควันและกลิ่นไหม้ ที่มาจากกระทะไม่ใช่อาหาร) โดยปกติแล้วเวลาทำอาหารนั้น หากในกระทะมีวัตถุดิบอื่นอยู่ เช่น น้ำ/น้ำมัน , ผัก หรือเนื้อ ก็จะช่วยดูดซับความร้อนจากกระทะ ทำให้ตัวกระทะเองมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 100 – 220 องศา แต่หากเป็นกระทะเปล่า ๆ เลย จะมีอุณหภูมิที่สูง 300 – 400 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิจุดหลอมเหลว ที่ทำให้สารพิษระเหยออกมาได้ค่ะ
ดังนั้น เวลาประกอบอาหารก็อย่าใช้ไฟแรงจนเกินไปบ่อย ๆ หรือถ้าเริ่มเห็นว่าสารเคลือบเริ่มหลุดร่อนแล้วก็ควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรใช้ต่อเพื่อสุขภาพนะคะ
ส่วนสเปรย์ประเภทที่ใช้ฉีดพ่นป้องกันน้ำและคราบสกปรกทั้งหลาย จะมีสาร PFCs ผสมอยู่เช่นกัน เพราะมีคุณสมบัติแรงตึงผิวที่ต่ำมาก คราบต่าง ๆ จะไม่เกาะติดและไม่ทำปฏิกิริยาใด ๆ กับสารตัวนี้ ซึ่งเวลาใช้งานก็ควรใส่หน้ากากป้องกันให้ดี และควรอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวก
สุดท้ายคือสาร BPA ที่ผสมอยู่ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ ขวดนมเด็ก และอาหารกระป๋อง ซึ่งจะส่งผลต่อฮอร์โมน การเผาผลาญ ระบบประสาท มีผลก่อมะเร็ง และภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไปใส่ของอุ่นร้อน เพราะความร้อนจะทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษออกมา โดยวิธีการป้องกันคือ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีชนิดนี้ หรือใช้วัสดุชนิดอื่น เช่น แก้ว กระเบื้องเซรามิก ไม้ หรือวัสดุจากธรรมชาติอื่น ๆ เป็นต้น โดยอาจแลกกับราคาของภาชนะที่ค่อนข้างสูงขึ้นมาอีกหน่อยแต่ปลอดภัยต่อสุขภาพระยะยาวนะคะ
ในห้องน้ำเรามีสารเคมีมากมาย โดยอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาซักผ้าขาว และก้อนดับกลิ่นหรือลูกเหม็น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสารเคมีเหล่านี้จะมีฤทธิ์กัดกร่อนค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าเราอาจไม่ได้ใช้เป็นประจำ แต่หากใช้งานไม่ถูกวิธี ก็อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งสารเคมีในผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้นจะประกอบไปด้วย Nonylphenol Ethoxylate (NPEs) แอมโมเนีย คลอลีน โซเดียมไฮเปอร์คลอไรท์ สารแนฟทาลีน สารพาราไดคลอโรเบนซีน และสารตะกั่ว
เวลาใช้งานผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเหล่านี้ ควรอ่านฉลากวิธีใช้งานก่อนทุกครั้ง และจะต้องมีการป้องกัน ด้วยการใส่หน้ากากหรือหาผ้ามาปิดจมูก และสวมถุงมือยางให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้น้ำยาหรือสารเคมีสัมผัสกับผิวหนังของเราโดยตรง เพราะจะเกิดการระคายเคืองและผิวหนังไหม้ได้ หากน้ำยาหรือสารเคมีสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ต้องรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมาก ๆ ทันที และรีบไปพบแพทย์เพื่อดูอาการอีกครั้งด้วยเพื่อความปลอดภัยนะคะ
ซึ่งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแต่ละชนิด ห้ามนำมาผสมกันเด็ดขาด หากคิดว่าการผสมกันแล้วทำให้สารออกฤทธิ์ทำความสะอาดได้ดียิ่งขึ้น นั่นคือความเชื่อที่ผิดอย่างมากค่ะ กลายเป็นหักล้างกันทำให้สารเคมีของแต่ละผลิตภัณฑ์ไม่เกิดประสิทธิภาพแถมเกิดสารพิษทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตได้อีกด้วย โดยอยากได้ข้อมูลรายเอียดเพิ่ม ขอแนะนำบทความนี้ น้ำยาทำความสะอาดที่ห้ามใช้ร่วมกัน ไม่ระวัง อาจะถึงตายได้! ในบทความนี้ได้บอกถึงอันตรายของการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่วมกันจะส่งผลอย่างไร
ส่วนลูกเหม็นมีสารสารพาราไดคลอโรเบนซีน และสารแนฟทาลีน ซึ่งเรามักใช้ดับกลิ่นในตู้เสื้อผ้าหรือห้องน้ำด้วย สารเหล่านี้จะเกาะติดอยู่ที่เสื้อผ้าของเราค่ะ หากอยากจะกำจัดสารที่ติดเสื้อผ้าของเรา ให้นำผ้ามาซักด้วยน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำ อัตราส่วน 1 : 1 แต่หากมันดูยุ่งยาก ไม่อยากใช้ลูกเหม็นอยากดับกลิ่นหรือสารที่ระเหยในอากาศ ให้ผสมน้ำส้มสายชูกับผงกาแฟลงในถ้วย แล้วไปตั้งไว้ในห้องนั้นก็ใช้ได้แล้วค่ะ
สุดท้ายคือสารตะกั่วที่จะมาตามท่อน้ำหรือแท็งค์น้ำ โดยเฉพาะบ้านที่ค่อนข้างมีอายุมากหน่อย ให้สังเกตสีและกลิ่นของน้ำที่มาจากก๊อกน้ำให้ดี ๆ หากมีความผิดปกติก็ควรเรียกให้ช่างเข้ามาเปลี่ยน ปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องใช้อุปโภคและบริโภค ให้กลับมาอยู่ในสภาพดีเหมือนเดิม หรือเราสามารถดูแลรักษาวัสดุและอุปกรณ์ในบ้านให้มีสภาพที่ดีค่ะ
จะเห็นได้ว่าสารเคมีในบ้านของเรานั้นไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลยนะ เพราะทุกอย่างคือสิ่งที่เรามองเห็นและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพที่หลายคนอาจไม่ทันได้ระวังตัว หรือบางอย่างเป็นอันตรายอาจถึงแก่ชีวิตเลยก็มีนะคะ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้หลีกเลี่ยง ป้องกัน หรือใช้สารเคมีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องนะคะ คราวหน้า EOS จะมีบทความอะไรดี ๆ มาฝาก อย่าลืมติดตามกันนะคะ
สามารถติดต่อพวกเราได้ที่
Tel : 064 296 6593
Line : https://lin.ee/M7mVBAf
Shopee : https://shopee.co.th/eos_scientific
e-Mail :eosscientificsshop.e@gmail.com
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : https://thinkofliving.com/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1-636713/