กรดไนตริก (Nitric acid) หรืออีกชื่อหนึ่ง กรดดินประสิว สารชนิดนี้จัดเป็นกรดแก่อนินทรีย์ คุณสมบัติเฉพาะของกรดไนตริก ลักษณะทางกายภาพมีสถานะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สิ่งทอ สีย้อม สารทำความสะอาด ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตร วัตถุระเบิด ฯลฯ เป็นต้น
กรดไนตริก เป็นกรดของไนโตรเจนออกไซด์ มีสูตรทางเคมี (Chemical Formula) คือ HNO3 ประกอบด้วยอะตอมไนโตรเจนที่จับกับกลุ่มไฮดรอกซี (OH-) และอะตอมของออกซิเจน (O) อีก 2 อะตอม สามารถสลายตัว และระเหยได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะจะทำให้เกิดไอระเหยของไฮโดรเจน และไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นควันน้ำตาลสีแดง เมื่อละลายในน้ำ โมเลกุลจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) ทำให้สารละลายมีฤทธิ์เป็นกรด
ประโยชน์ของกรดไนตริก
กรดไนตริกมีจำหน่ายตามท้องตลาด มีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน กรดไนตริกเข้มข้นสูงสุดที่ความเข้มข้น 70% โดยจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
อุตสาหกรรม
-
- ใช้เป็นสารตัวเร่งปฏิกิริยาตัวทำละลายโลหะ เช่น การใช้กรดไนตริกเป็นตัวทำละลายโลหะในเหมืองทองคำ หรือ ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน สบู่, สารชะล้าง, น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมถึงใช้เป็นสารทำความสะอาดโดยตรง โดยเฉพาะการทำความสะอาดโลหะในภาคอุตสาหกรรม
- ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อช่วยต้านการเกิดโฟม ช่วยให้สารจับเป็นเนื้อเดียวกันและการกระจายตัวของส่วนผสม ช่วยให้เกิดฟองและช่วยปรับสภาพความหนืด เป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และฟอกหนัง
- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสี และสารเคลือบ
- ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง
- ใช้ในกระบวนการผลิตบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่
การเกษตร
ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกัน และกำจัดเชื้อราในทางการเกษตร
ครัวเรือน
ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโดยตรง เช่น ทำความสะอาดโลหะหรือเครื่องเรือน ใช้ทำความสะอาดพืชผลทางการเกษตรเพื่อการฆ่าเชื้อโรคและป้องกันเชื้อรา ทั้งนี้ จะใช้ในลักษณะสารละลายที่เจือจาง และต้องล้างทำความสะอาดอีกครั้งด้วยน้ำสะอาด
ห้องปฏิบัติการ
ใช้กรดไนตริกสำหรับการเตรียมสารละลาย และการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย รวมถึงใช้ปรับความเป็นกรดของตัวอย่างคุณภาพน้ำ เพื่อช่วยป้องกันการตกตะกอนของโลหะหนักหรือการเกาะติดของโลหะหนักกับภาชนะ รวมถึงป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์
การแพทย์
การใช้กรดไนตริกสำหรับการรักษาหูด ใช้เป็นตัวทำละลายในทางเภสัชกรรม และใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบรายงานการศึกษาที่ทดลองนำสารละลายของกรดไนตริก หรือที่เรียกว่า Solcoderm solution มารักษาเนื้องอกบริเวณผิวหนังชั้นนอก ซึ่งพบว่า ผลการรักษามีการตอบสนองต่อสารละลายกรดไนตริกได้เป็นอย่างดี
การทหาร
กรดไนตริกถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตวัตถุระเบิด
ข้อควรระวัง! ความเป็นพิษของกรดไนตริก
แม้ว่ากรดไนตริกจะมีประโยชน์หลายอย่างมาก แต่ความเป็นกรดก็มีจุดที่ควรระวังมากเช่นกัน ซึ่งเราอาจเผลอไปสัมผัส สูดดม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่ทันได้ระมัดระวังตัว ซึ่งการกระทำเหล่านี้มันสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย โดยอาการแต่ละการกระทำส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
การสูดดม
-
- หากสูดดมไอระเหยของกรดไนตริกเข้าไป ไอระเหยของกรดไนตริกจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจทันที อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ แสบจมูก แสบลำคอ แสบ และแน่นหน้าอก
- หากสูดดมไอระเหยของกรดไนตริกเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดหลอดลม และปอดอักเสบเรื้อรังได้
การสัมผัส
-
- การสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังอักเสบ และเป็นแผลได้
- การสัมผัสกับตา หากความเข้มข้นน้อยจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีอาการแสบตา แต่หากมีความเข้มข้นสูงอาจทำให้ดวงตาอักเสบ และถึงกับตาปอดได้
การนำเข้าสู่ร่างกาย (ด้วยวิธีการดื่ม)
การดื่มกรดไนตริกเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการระคายเครื่องต่อเยื่อบุทางเดินอาหารอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรดไนตริกเข้มข้น โดยจะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนทั้งบริเวณช่องปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร อาจทำให้เยื่อบุทุกส่วนในระบบทางเดินอาหารเป็นแผล และทะลุ มีเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด และเกิดอาการช๊อคได้
ดังนั้น เราควรตระหนักในเรื่องของวิธีการใช้งานที่ถูกต้องในปริมาณที่เหมาะสมและวิธีการใช้งานกรดไนตริก และควรระมัดระวังการใช้งานให้ถูกต้อง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
-
- กรณีกรดไนตริกเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากทันที ดึงเปลือกตาบนและล่างเป็นระยะๆ หากยังมีอาการระคายเคือง หลังจากล้างน้ำสะอาดแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะทำงานกับสารเคมี
- ถ้ากรดไนตริก หรือไอเข้มข้นของกรดไนตริกสัมผัสกับผิวหนัง ให้รีบล้างผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ำสะอาดทันที ถ้าผิวหนังส่วนนั้นมีเสื้อผ้าปกคลุม ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกและล้างผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ำสะอาดและรีบไปพบแพทย์ทันที
- กรณีที่หายใจเอากรดไนตริกเข้าไปในปริมาณมากๆ ให้รีบเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับกรดไนตริกไปที่อากาศบริสุทธิ์ทันที
- ถ้าพบว่ามีการหยุดหายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ และพาเข้าไปพักผ่อน ทำให้ร่างกายอบอุ่น และรีบไปพบแพทย์ทันที
- ในกรณีที่รับประทานกรดไนตริก ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามมากๆ ทันที เพื่อไปเจือจางกรดไนตริก อย่าพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน และรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีการจัดเก็บรักษากรดไนตริก
-
- เก็บในภาชนะที่เป็นขวดแก้วชนิดสีชา (สนใจขวดแก้วสีชา >>> คลิกได้ที่นี่ <<< เลย)
- แยกเก็บหรือเก็บให้ห่างสารประกอบเซลลูโลส น้ำ สารที่เป็นด่าง และโลหะต่างๆ เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ และวัสดุที่ทำจากเซลลูโลส หากสัมผัสกับวัสดุที่มีเซลลูโลสจะทำให้เกิดควันของสารจำพวกออกไซด์ที่เป็นพิษ และมีโอกาสลุกติดไฟได้เอง
- เก็บในอาคาร ห่างจากแสงแดดส่องถึง และมีการระบายอากาศดี
- เก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน และเปลวไฟเย็น หากภาชนะบรรจุได้รับความร้อนอาจทำให้เกิดการระเบิดได้
- เก็บให้ห่างจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และสารที่ปล่อยรังสี
- พื้นที่จัดเก็บควรมีป้ายกำกับ ป้ายเตือน ข้อห้าม และมีข้อมูลความปลอดภัยที่สามารถอ่านได้ และชัดเจน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
https://siamroommate.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81/
https://www.fda.moph.go.th/sites/Hazardous/KM_Paper/3.%20%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%84%20(Nitric%20acid).pdf