ตะกร้า
0
0.00 THB
  • หน้าแรก

  • บทความ

  • รู้หรือไม่? สารเคมีอยู่ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด

รู้หรือไม่? สารเคมีอยู่ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด

  • หน้าแรก

  • บทความ

  • รู้หรือไม่? สารเคมีอยู่ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด

รู้หรือไม่? สารเคมีอยู่ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด

รู้หรือไม่? สารเคมีอยู่ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด


หลายคนอาจจะไม่ได้สนใจหรือมองข้ามไปเป็นเรื่องปกติ ในทุกวันนี้เราต่างพบปะกับสารเคมีมากมายหลายชนิดที่อยู่ในลักษณะหรือรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งเป็น สารสังเคราะห์ และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงหรือกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละอย่างแต่ละชนิดที่กล่าวมานี้ มีอะไรกันบ้างที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเรา




สารปรุงแต่งอาหาร

สารปรุงรสอาหาร เป็นสารที่ใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสชาติที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ และสารที่ให้รสชาติต่าง ๆ  ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของสารปรุงแต่งอาหารออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ เป็นต้น
ประเภทที่ 2 ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก น้ำอัญชัน ฯลฯ เป็นต้น




เครื่องดื่ม

โดยธรรมชาติมนุษย์ไม่สามารถขาดน้ำได้ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของการดื่มน้ำที่ทำให้เกิดรสชาติ สี กลิ่น ที่ดียิ่งขึ้น หรือให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างวิตามินต่าง ๆ ที่ถูกผสมลงไปในเครื่องดื่ม บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว หรือเพื่อดับกระหาย โดยเครื่องดื่มจะถูกแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่

1) น้ำดื่มสะอาด
2) น้ำผลไม้
3) นม
4) น้ำอัดลม
5) เครื่องดื่มชูกำลัง
6) ชาและกาแฟ
7) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

น้ำสำหรับการบริโภคนั้น จะต้องเป็นน้ำดื่มที่สะอาด ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย ในบางเครื่องดื่มหลายชนิดก็มีส่วนผสมของสารเคมีที่สังเคราะห์และจากธรรมชาติเช่นเดียวกับอาหาร




สารทำความสะอาด

สารที่มีคุณสมบัติในการกำจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือสารที่ฆ่าเชื้อโรค จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทำความสะอาดพื้นเป็นต้น
ประเภทที่ 2 ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น

โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1) สารประเภททำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น 
2) สารประเภททำความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่ สารซักฟอกชนิดต่าง ๆ 
3) สารประเภททำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น 
4) สารประเภททำความสะอาดห้องน้ำ ได้แก่ สารทำความสะอาดห้องน้ำทั้งชนิดผงและชนิดเหลว
สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพูสระผม สารล้างจาน สารทำความสะอาดห้องน้ำ สารซักฟอก บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบส ซึ่งทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส (กระดาษทดสอบความเป็นกรด-ด่าง) ส่วนสารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนที่ยาไว้ระหว่างกระเบื้องปูพื้นหรือฝาห้องน้ำบริเวณเครื่องสุขภัณฑ์ได้ ทำให้คราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกมาด้วย แต่ถ้าใช้สารชนิดนี้ไปนาน ๆ พื้นและฝาห้องน้ำอาจสึกกร่อนได้ และส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความระคายเคืองของผิวหนัง และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอีกด้วย

ดังนั้น ในการใช้ต้องระมัดระวังโดยอ่านฉลากก่อนใช้งาน และปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัด ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
ที่สำคัญควรเข้าใจในการใช้สารเคมีทำความสะอาด การใช้ปริมาณมากเกินไปไม่ได้หมายความว่าจะช่วยทำความสะอาดได้มากขึ้น ในทางตรงกันข้ามอาจทำให้สิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อมรวมถึงอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตเราได้อีกด้วย ซึ่งในบทความถัดไปเราจะมาพูดถึงเรื่อง น้ำยาทำความสะอาดที่ห้ามใช้ร่วมกัน ไม่ระวัง อาจะถึงตายได้! กันนะ




สารกำจัดแมลง

สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการกำจัด และควบคุมแมลงต่าง ๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ โดยถูกแบ่งประเภทของสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืชได้เป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง สารกำจัดมด ปลวก แมลงต่าง ๆ เป็นต้น
ประเภทที่ 2 ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม ตะไคร้ เป็นต้น



เครื่องสำอาง

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบร่างกาย ที่ใช้ทำความสะอาดเพื่อให้เกิดความสดชื่น ความสวยงาม และเพิ่มความมั่นใจ จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1) สำหรับผม เช่น แชมพู ครีมนวด เจลแต่งผม เป็นต้น
2) สำหรับร่างกาย เช่น สบู่ ครีม และโลชั่นทาผิว ยาทาเล็บ น้ำยาดับกลิ่นตัว แป้งโรยตัว เป็นต้น
3) สำหรับใบหน้า เช่น ครีม โฟมล้างหน้า แป้งตลับ ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา
4) น้ำหอม
5) เบ็ดเตล็ด เช่น ครีมโกนหนวด ผ้าอนามัย ยาสีฟัน เป็นต้น


          ในข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมานั้น เราจะเห็นได้ว่าสารเคมีรอบตัวนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด และล้วนเกี่ยวข้องกับการชีวิตของเราทั้งสิ้น เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือการได้รับผลกระทบจากสารเคมีดังกล่าวได้ แต่เราสามารถทำความเข้าใจ เรียนรู้ และรู้จักป้องกันให้ชีวิตปลอดภัยรวมถึงสามารถดึงประสิทธิภาพจากสารเคมีรอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้



ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
https://www.scimath.org/article-chemistry/item/11463-2020-04-20-08-25-47
โพสต์เมื่อ :
2565-11-29
 1510
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์