ตะกร้า
0
0.00
THB
TH
EN
บริษัท อีออส ไซเอนติฟิก ศูนย์รวมผลิตภัณท์คุณภาพสำหรับห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์
062-636-4478
Search
Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
สินค้า
Chemicals
Consumables
Life Science
บทความ
ติดต่อเรา
วิธีการสั่งซื้อ / วิธีการชำระเงิน
หน้าแรก
บทความ
วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด
วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด
ย้อนกลับ
หน้าแรก
บทความ
วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด
วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด
ย้อนกลับ
หลักการทั่วไปในการเก็บสารเคมี
1. สถานที่ที่ใช้เก็บสารเคมี ควรเป็นที่ที่ปิดมิดชิดพร้อมป้ายบ่งบอกชัดเจนว่า "สถานที่เก็บสารเคมี" ผนังกำแพงต้องเป็นแบบทนไฟ ภายในพื้นที่เก็บควรเป็นพื้นที่เย็นและแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี แต่แดดส่งไม่ถึง
2. ชั้นวางสารเคมีต้องมีความแข็งแรง มั่นคงไม่สั่นสะเทือน
3. ภาชนะที่บรรจุสารเคมีควรมีความทนต่อแรงดัน การกัดกร่อน และแรงกระแทกจากภายนอกควรมีภาชนะสำรองไว้เสมอ และต้องมีป้ายปิดที่ทนทานระบุชื่อสารเคมี อันตรายและข้อควรระวังไว้ชัดเจนที่ข้างภาชนะ
4. สำหรับตำแหน่งที่ใช้ในการจัดเก็บสารเคมีไม่ควรวางขวดบนพื้นโดยตรง หรือวางในที่แคบ ใกล้ประตูและหน้าต่าง ส่วนการเก็บสารเคมีที่มีขนาดใหญ่ และหนัก ไม่ควรเก็บไว้ในที่สูง
5. ต้องมีระบบการจัดเก็บสารที่มีระเบียบ บริเวณที่เก็บต้องสะอาดอยู่เสมอ และเรียงสารตามการหมดอายุก่อน-หลัง สารเคมีตัวไหนหมดอายุให้รีบทำลายทันที
6. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และชุดปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
เก็บสารเคมีตามคุณสมบัติ
สารเคมีไวไฟ
สารเคมีที่จัดเป็นสารไวไฟ คือสารเคมีที่ละอองหรือฝุ่นของสารเคมีนั้น สามารถติดไฟได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ เช่น ผงละเอียดของโลหะ ฟอสฟอรัส ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส เป็นต้น
วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้
คือ
- ควรเก็บในพื้นที่อากาศถ่ายเท และห่างจากแหล่งจุดติดไฟ เช่นความร้อน เปลวไฟ
- เก็บไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย มีฝาปิดแน่นเพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปได้ และควรเก็บไว้ในตู้เก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ
- ควรเก็บสารเคมีชนิดนี้ให้ห่างจากสาร Oxidizers สารที่ลุกติดไฟได้ สารที่ระเบิดได้ และสารที่ทำปฏิกิริยากับความร้อน และทำให้เกิดความร้อน
- ภายในและโดยรอบพื้นที่จัดเก็บ ต้องมีป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือก่อประกายไฟติดไว้ รวมถึงต้องมีการต่อสายไฟลงดิน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดไฟฟ้าสถิต
สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้
สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ คือสารเคมีที่เมื่ออยู่เดี่ยวๆ อาจจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่เมื่ออยู่ด้วยกันหรือใกล้กันจะก่อให้เกิดความร้อน เกิดการระเบิด หรือเกิดเป็นสารพิษขึ้นได้
วิธีการเก็บสารเคมีกลุ่มนี้
คือ
- ควรเก็บแยกพื้นที่จัดเก็บออกจากกันอย่างชัดเจน
- ควรเตรียมเครื่องดับเพลิง Class D เอาไว้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้จาก Oxidizers
- เก็บให้ห่างเชื้อเพลิงและวัตถุติดไฟ
- เก็บห่างจาก reducing agents เช่น zinc, alkaline metal หรือ formic acid
สารเคมีที่เป็นพิษ
สารเคมีที่เป็นพิษ (Toxic chemicals) คือ สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสีด้วย
วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้
คือ
- ภาชนะที่ใช้จัดเก็บสารเคมีประเภทนี้ ควรเป็นภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด อากาศเข้าไปไม่ได้ และตั้งให้ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ
- ควรมีการตรวจสอบแบบสม่ำเสมอ ทั้งภาชนะที่บรรจุสารเคมี และบริเวณโดยรอบ
- สำหรับสารที่ไวต่อแสง ควรเก็บในบรรจุภัณฑ์สีชา ในพื้นที่แห้ง เย็น และมืด
สารเคมีกัดกร่อน
สารเคมีกัดกร่อน คือ สารเคมีที่เป็นกรด หรือด่าง ส่วนมากสารพวกนี้จะทำลายบรรจุภัณฑ์ และออกมายังบรรยากาศภายนอกได้ ดังนั้นต้องใส่ใจในเรื่องของบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก
วิธีการจัดเก็บสารกลุ่มนี้
คือ
- การเก็บสารเคมีที่เป็นด่างควรเก็บแยกจากสารที่เป็นกรด และวัตถุอื่นๆ ที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
- การเก็บสารที่เป็นกรด ควรเก็บแยกจากโลหะที่ทำปฏิกิริยา เช่น Sodium Potassium และ Magnesium เป็นต้น
- เก็บไว้ในที่เย็น แต่ต้องสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
- ก่อนใช้งานสารเคมีเหล่านี้ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน ทั้งถุงมือ แว่นตา ฯลฯ เสมอ
สารเคมีที่ระเบิดได้
สารที่ระเบิดได้ คือสารที่ไวต่อปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ระยะเวลาในการนำออกมาจากบรรจุภัณฑ์ ความร้อนหรือเย็นจัด ความแห้ง การสั่นสะเทือน เป็นต้น เมื่อสารเคมีเหล่านี้โดนกระตุ้น ณ อุณหภูมิจนเกิดอาการ Decompose ซึ่งทำให้อากาศรอบๆ เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่มาของระเบิดนั่นเอง
วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้
คือ
- ควรเก็บสารเคมีเหล่านี้ให้ห่างจากอาคารอื่นๆ และมีการล็อคอย่างแน่นหนา
- ไม่ควรเก็บในที่มีเชื้อเพลิง หรือสารที่ติดไฟได้ง่าย และต้องห่างเปลวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต
- ไม่ควรมีชนวนระเบิด (Detonators) และเครื่องมือ และสารอื่นๆ อยู่ด้วย
- ไม่ควรซ้อนกันเกิน 6 ฟุต หากต้องการเคลื่อนย้าย ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
- ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปในที่เก็บสารเคมีเด็ดขาด
การจัดเก็บสารเคมีเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญหากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะนำมาซึ่งอันตรายต่อทรัพย์สิน และชีวิตได้ นอกจากการเก็บสารเคมีให้ถูกต้องแล้ว ผู้ใช้งานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสมอ หากเกิดการรั่วไหลของสารเคมี จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ดูดซับสารเคมีเตรียมไว้ และอุปกรณ์พื้นฐานในเหตุฉุกเฉินอีกด้วย
Credit: https://www.officemate.co.th
โพสต์เมื่อ :
2565-03-14
805
ผู้เข้าชม
×
Tel
062-636-4478
×
Line
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com