ตะกร้า
0
0.00 THB

วิธีการเลือกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์

วิธีการเลือกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์

                                          วิธีการเลือกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์

                                หากพูดถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แล้ว ก็อาจมีความหมายกว้างเสียจนหลาย ๆ คนเกิดความสับสนได้ ดังนั้น เราจึงรวบรวมข้อมูลและแยกย่อยอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ออกมา
                                ให้คุณเลือกซื้อได้อย่างตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น โดยจะมีปัจจัยอะไรในการเลือกซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์บ้างนั้น ไปดูวิธีการเลือกเลย

                           เลือกตามประเภทของอุปกรณ์วิทยาศาสตร์


                                   เนื่องจากประเทศไทยมีการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นต้นไป จึงอาจทำให้หลาย ๆ คนเคยได้สัมผัสกับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์
                                   กันมาบ้างแล้ว ทั้งที่ผ่านการทดลองในห้องเรียนและ นอกห้องเรียนหรือจากการอ่านหนังสือต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่า ยังมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อีกมากมายที่
                                   หลายคนยังไม่รู้จัก ซึ่งสามารถแบ่ง ตามประเภท ได้ทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
                         
                                 - แบบทั่วไป มักจะผลิตมาจากแก้ว เพื่อให้สามารถป้องกันการทำปฏิกิริยากับสารเคมี เช่น บีกเกอร์ แท่งแก้ว กระบอกตวงฯลฯ
                              -
แบบเครื่องมือช่าง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดตัวเลขต่าง ๆ สามารถใช้ได้ทั้งในห้องปฏิบัติการและนอกสถานที่ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ เวอร์เนีย คีม ฯลฯ
                                 - แบบสิ้นเปลือง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหมด ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น กระดาษลิตมัส กระดาษกรอง ฯลฯ

                         
                            เลือกอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน



                                   ปัจจุบันอุปกรณ์วิทยาศาสตร์มีการพัฒนาออกมาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ผลิตมาจากแก้ว, สเตนเลส, ซิลิโคน หรือพลาสติก ซึ่งต่างก็เหมาะสม
                                   กับการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จะผลิตมาจากแก้ว เพราะสารเคมีต่างๆ มักมีฤทธิ์กัดกร่อนที่สามารถทำปฏิกิริยากับอุปกรณ์
                                   วิทยาศาสตร์ประเภทพลาสติก หรือซิลิโคนได้
                
                                   ทั้งนี้ ก็ยังมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ผลิตมาจากพลาสติก และซิลิโคน อย่างบีกเกอร์ที่สามารถใช้เพื่อวัดปริมาณของเหลวได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ต้มสารละลายต่างๆได้
                                   นอกจากนี้ ในส่วนของอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ผลิตมาจากสเตนเลสจะเหมาะกับการใช้งานเพื่อวัดขนาดของความกว้าง ความยาว ความลึก หรือความหนาเสียมากกว่า
                                   เพราะไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่อาจส่งผลให้เกิดสนิมได้ง่ายนั่นเอง

                           คำนึงถึงขนาดและวิธีการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
              

                            การใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ควรพิจารณาถึงขนาดของอุปกรณ์กับปริมาณของสารเคมี หรือสื่งที่ต้องการวัด และคำนวณก่อนว่าสมดุบกัน
                            หรือไม่ เพราะถ้าหากไม่สมดุลกันก็อาจส่งผลต่อปฏิกิริยาของสารเคมีได้ เช่น ใช้หลอดทดลองแทนบีกเกอร์ในการบรรจุสารละลายที่มีปริมาณมากจนเกินไป เมื่อนำไป
                            ต้มก็อาจทำให้สารละลายเกิดปฏิกิริยาช้า เนื่องจากได้รับความร้อนอย่างไม่ทั่วถึง เป็นต้น

                            นอกจากนี้ ยังเป็นการไม่ให้เสียเวลาเตรียมอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ใหม่ โดยเฉพาะเมื่อต้องทำการทดลองนอกสถานที่แล้วต้องใช้อุปกรณ์สำหรับวัดขนาดอย่างเวอร์เนียคาลิปเปอร์
                            ที่มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งาน หากต้องการวัดวัตถุที่มีขนาดเล็กก็ควรใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์ไซซ์เล็กเพื่อให้สามารถวัดขนาดได้อย่างทั่วถึง หรือแม้แต่เทอร์มอมิเตอร์ที่มี
                            หลากหลายรูปแบบ ก็ควรคำนึงก่อนเสมอว่าต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อะไร หากต้องการใช้ทำการทดลองก็ควรเลือกเทอร์มอมิเตอร์แบบแท่งแก้ว และถ้าหากต้องการใช้
                            สำหรับทำอาหารก็ควรใช้เทอร์มอมิเตอร์แบบโพรบ
                            
                          





credit : https://my-best.in.th/

 

โพสต์เมื่อ :
2565-02-04
 4813
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์